วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

วงออร์เคสตรา

            วงออร์เคสตรา คือ วงดุริยางค์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน  ในการศึกษาวงออร์เคสตราจำเป็นต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบดังนี้

1.  ประวัติของวงออร์เคสตรา
2.  วิวัฒนาการการจัดวงออร์เคสตรา
3.  บทเพลงที่ใช้ในวงออร์เคสตรา





_________________________________________________________________________________


1. ประวัติของวงออร์เคสตรา

วงออร์เคสตรา เป็นภาษาเยอรมัน หมายถึง สถานที่เต้นรำ เป็นส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณในยุคกลาง ความหมายได้เปลี่ยนเป็นเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น และในกลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน อีกนัยหนึ่งก็ยังหมายถึง พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวที ละคร และการแสดงคอนเสิร์ต

ในระยะแรก การใช้เครื่องดนตรีไม่มีการระบุแน่นอนว่ามีการบรรเลงเป็นอย่างไร ต่อมาในระยะศตวรรษที่ 16 มีโอเปราเกิดขึ้นทำให้มีความจำเป็นต้องการให้มีการบรรเลงกลมกลืนกับนักร้องจึงเริ่มมีการกำหนดเครื่องดนตรีลงในบทเพลงโดยเป็นลักษณะของวงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) มีผู้เล่นจำนวน 10-25 คน ในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และในตอนปลายยุคบาโรก (ประมาณ ค.. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงเริ่มระบุจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด มีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ

วงออร์เคสตราเริ่มมีการพัฒนารูปแบบจนได้มาตรฐานใน ยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 18) บทเพลงประเภทซิมโฟนีมีการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ บทเพลงประเภท คอนแชร์โต โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนา

นอกจากนี้ในวงออร์เคสตรายังมีเครื่องดนตรีแต่ละประเภทครบถ้วน คือ ในกลุ่มเครื่องสายประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส ในกลุ่มเครื่องลมไม้  ประกอบด้วยฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองประกอบด้วย ฮอร์น ทรัมเป็ต ทรอมโบน และทูบาและในกลุ่มเครื่องตีประกอบด้วย กลองทิมปานี กลองใหญ่ และเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ ซึ่งจะมีรายละเอียดตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง

ต่อมา ในยุคโรแมนติก วงออร์เคสตราเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่และสื่ออารมณ์ของบทเพลงให้ชัดเจน ความนิยมในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem)ทำให้วงออร์เคสตรามีผู้แสดงถึง 100 คน และนับว่าเป็นการพัฒนาถึงขีดสุดจนถึงยุคศตวรรษที่ 20 เนื่องจากผลกระทบหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้วงมีขนาดลดลงซึ่งในการจัดวงนั้นก็ขึ้นกับปัจจัยทางสังคม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น เช่นเดียวกับการประพันธ์บทเพลง


__________________________________________________________________

2.  วิวัฒนาการการจัดวงออร์เคสตรา
2.1   ยุคบาโรก (Baroque) .. 1600-1750 

เป็นยุคแรกของวงออร์เคสตรา  มาตรฐานการจัดวงจึงมีความไม่แน่นอนซึ่งเครื่องดนตรีที่ใช้จะประกอบไปด้วย       ดังนี้
เครื่องสาย
ประกอบไปด้วย
ไวโอลิน 2 แนว (ไวโอลิน 1 ไวโอลิน 2)   
วิโอลา
เชลโลและดับเบิลเบส
เครื่องลมไม้
ประกอบไปด้วย
โอโบ 3 เครื่อง
บาสซูน 1 เครื่อง
บางครั้งอาจมีฟลูต
                             
เครื่องลมทองเหลือง
ประกอบไปด้วย
ทรัมเป็ต 3 เครื่อง
บางครั้งอาจมีฮอร์น
เครื่องประกอบจังหวะ
ประกอบไปด้วย
ทิมปานี
นอกจากนี้อาจมีออร์แกนเมื่อบรรเลงบทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนา (เพลงโบสถ์และเครื่องดนตรีชนิดอื่นตามความต้องการของผู้ประพันธ์



  __________________________________________________________________


2.2  ยุคคลาสสิก (The Classic Era) .. 1750-1820 
ยุคคลาสสิก (The Classic Era) วงออร์เคสตราเริ่มมีแบบแผนอาจแบ่งเป็นวงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) คือ วงออร์เคสตราที่ประกอบด้วยเครื่องสายเพียงอย่างเดียวและวงออร์เคสตรามีเครื่องดนตรีทั้ง 4 ประเภท อาจประกอบด้วย ดังนี้

ฟลูต
ฮอร์น
โอโบ
ทรัมเป็ต
2
2
2
2
เครื่อง
เครื่อง
เครื่อง
เครื่อง
คลาริเน็ต
กลองทิมปานี
บาสซูน
เครื่องสาย
2
2
2
เครื่อง
ใบ
เครื่อง

ในกลุ่มเครื่องสายจะมีแนวบรรเลง 2 แนว คือ แนวทำนองหลักและแนวเสียงประสาน



__________________________________________________________________


2.3 ยุคโรแมนติก (The Romantic Era) .. 1820-1900 

          ยุคโรแมนติก ( The Romantic Era ) วงออร์เคสตราได้พัฒนาถึงจุดที่เป็นมาตรฐานเครื่องดนตรีสามารถให้สีสันกับบทเพลงได้อย่างเด่นชัด โดยมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีให้มากขึ้น ผู้บรรเลงประมาณ 80 คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

            ฟลูต               4          เครื่อง                 ดับเบิลเบส           8          เครื่อง
โอโบ              4          เครื่อง                 ฮอร์น                   4          เครื่อง
คลาริเน็ต        4          เครื่อง                 ทรัมเป็ต               4          เครื่อง
บาสซูน          4          เครื่อง                 ทรอมโบน            4          เครื่อง    
ไวโอลิน 1     14         เครื่อง                 ทิมปานี                1          ชุด
ไวโอลิน 2      14        เครื่อง                 กลองใหญ่            1          ตัว
วิโอลา             8         เครื่อง                 ฉาบ                      1          คู่
เชลโล             10        เครื่อง                ฮาร์ฟ                    1          คู่



สำหรับจำนวนของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง แต่ส่วนใหญ่แล้ววงออร์เคสตราในสมัยโรแมนติกนึ้มักประกอบด้วยผู้เล่นทั้งหมดโดยประมาณ 80 คน ในบางครั้งมีการใช้เครื่องดนตรีอื่นเข้าร่วมด้วยเช่น ฮาร์ป  นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะเข้าไปอีกเพื่อเพิ่มสีสัน ของเพลงและความยิ่งใหญ่เช่น กิ่ง (Triangle) ฉาบ (Cymbals)กลองเล็ก (Side Drum)กลองใหญ่ (Bass Drum) และ ระฆังราว (Chimes)





__________________________________________________________________


2.4  วงออร์เคสตราสมัยศตวรรษที่ 20 ( The Twentieth Century Orchestra) 
เนื่องจากความเจริญในทุก ๆ ด้านของสมัยนี้จึงทำให้ขนาดของวงออร์เคสตรามีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจรวมถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยีได้มีการผลิต เครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้าที่เราเรียกว่า ซินธิไซเซอร์” (Synthesizer) ซึ่งสามารถปรับแต่งเสียงเครื่อง ดนตรีได้เกือบทุกชนิด บางครั้งนำเข้ามาบรรเลงร่วมกับวงออร์เคสตรา จึงทำให้วงออร์เคสตราใน สมัยนี้มีหลายขนาด 
โดยปกติมักแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ วงออร์เคสตราขนาดเล็กมักประกอบด้วย ผู้เล่นไม่เกิน 60 คน และวงออร์เคสตราขนาดใหญ่มักประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 80 -100 คน ซึ่งจำนวนเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประพันธ์เพลงเช่นกัน  ส่วนใหญ่กลุ่มเครื่องสายจะเป็นอัตราส่วน 1 ใน 4 ของผู้เล่นทั้งหมด ส่วนเครื่องอื่น ๆ ก็แล้วแต่ความ เหมาะสมและความสมดุล ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้

  •  กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments) ได้แก่ ไวโอลินที่หนึ่ง ไวโอลินที่สอง วิโอลาเชลโลและดับเบิลเบส 
  •  กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) ได้แก่ ฟลูต พิคโคโล โอโบ คลาริเนตเบสคลาริเนตและบาสซูน 
  •  กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass Instruments) ได้แก่ ทรัมเปต ทรอมโบน ทูบา และ            เฟรนช์ฮอร์น 
  •  กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (Percussion Instruments) ได้แก่ กลองทิมปานี

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงร่วมในวงออร์เคสตราประกอบด้วย ฮาร์ป เปียโนและออร์แกน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทเพลงนั้น ๆ ) ส่วนในกลุ่มของเครื่องประกอบจังหวะที่ เพิ่มเข้ามาด้วยประกอบด้วย กลองทิมปานี กลองเล็ก กลองใหญ่ ฉาบ กิ่ง ระฆังราว ฆ้อง ไซโลโฟนและวู้ดบล๊อค

ขนาดของวงออร์เคสตรานั้นได้กำหนดจำนวนของผู้เล่นพอ สรุปได้ดังนี้
1. วงออร์เคสตราขนาดเล็ก (Small Orchestra) มีผู้เล่นประมาณ 40-60 คน
2. วงออร์เคสตราขนาดกลาง (Medium Orchestra) มีผู้เล่นประมาณ 60-80 คน
3. วงออร์เคสตราขนาดใหญ่ (Full Orchestra) มีผู้เล่นประมาณ 80-100 คน


ขนาดของวงออร์เคสตร้าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กนั้นให้ถือเอากลุ่มเครื่องสายเป็น หลักสำคัญ ในการจัดขนาดของวงมีความแตกต่างกันไปตามสภาพสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งจุดมุ่งหมายการบรรเลงเพลงด้วย แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ขนาดเล็กผู้บรรเลงไม่เกิน 60 คน และขนาดใหญ่ผู้บรรเลงประมาณ 80-100 คน โดยคำนึงถึงความกลมกลืน และความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม ในการจัดกลุ่มเครื่องดนตรี นิยมให้เครื่องสายอยู่   ด้านหน้าสุด ส่วนเครื่องตีและเครื่องลมทองเหลืองอยู่ด้านหลัง บริเวณกลางจะเป็นเครื่องลมไม้ ดังนี้

 กลุ่มเครื่องสาย           ไวโอลิน 1                                 18                    เครื่อง
ไวโอลิน 2                                 15                    เครื่อง
วิโอลา                                      12                    เครื่อง
เชลโล                                      12                    เครื่อง
ดับเบิลเบส                              12                    เครื่อง

กลุ่มเครื่องลมไม้          ฟลูต                                        3                     เครื่อง                
ปิกโกโล                                   1                     เครื่อง
โอโบ                                        3                     เครื่อง                
อิงลิชฮอร์น                              1                     เครื่อง
คลาริเน็ต                                 3                     เครื่อง                
เบสคลาริเน็ต                           1                     เครื่อง
บาสซูน                                    3                     เครื่อง                
ดับเบิลบาสซูน                        1                      เครื่อง

กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง         ฮอร์น                             4-6                   เครื่อง
ทรัมเป็ต                         4                      เครื่อง
ทรอมโบน                     3                        เครื่อง
ทูบา                               1                     เครื่อง

กลุ่มเครื่องตี                          กลองทิมปานี                 1                      ชุด
กลองใหญ่ กลองเล็ก ไซโลโฟน สามเหลี่ยม ฉาบ
แทมโบริน (ใช้ผู้เล่น 2-4 คน)






วงออร์เคสตรายุคศตวรรษที่ 20 ( The Twentieth Century Orchestra)
ที่มา : Microsoft The Attica Guide To Classical Music,1996





ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995




กลุ่มเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ











__________________________________________________________________


วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

          วงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคจัดเป็นการผสมวงดนตรีของตะวันตกอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีความเป็นมายาวนานมากนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 14 หรือยุคกลาง (Middle Age) เป็นต้นมา ได้มีการผสมวงโดยซึ่งพบในบทเพลงโมเต็ท (Motet) และแมดริกัล (Madrigal) ซึ่งเป็นบทเพลงขับร้อง นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องลมได้เข้ามาบรรเลงร่วมกับการขับร้อง Webster's Dictionary ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า    "แชมเบอร์มิวสิค " ไว้ว่า "Instrumental music suitable for performance in a chamber or a small audience hall" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า " ดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถงหรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย" หรือจะเรียกดนตรีประเภทนี้ว่า แชมเบอร์มิวสิคเป็นดนตรีของนักดนตรี (musicians' music) , ดนตรีของมิตรสหาย (music of friends)และ ดนตรีในหมู่เพื่อนฝูง (music among friends) 

          ในสมัยแรก ๆ วงดนตรีประเภทนี้เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้าน คฤหาสน์ของขุนนาง หรือห้องที่จุผู้ฟังได้จำนวนน้อยซึ่งผู้จัดงานมีแขกพอประมาณ ต่อมาวงแชมเบอร์มิวสิคเล่นในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ และในที่สุดต้องเล่นในคอนเสิร์ตฮอลล์ (Concert hall) หรือสังคีตสถาน อย่างเช่นศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น การฟังดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคต้องมีความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังดนตรีคลาสสิกทั่ว ๆ ไป

         ลักษณะเด่นของวงดนตรีประเภทนี้ก็คือเสียงดนตรีที่แท้จริง สำหรับด้านคุณภาพของการเล่นนั้นผู้เล่นต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ผู้ใดเล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ความถูกต้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีประเภทนี้การฟังเพื่อให้ได้รสชาติที่สมบูรณ์ของแชมเบอร์มิวสิคนั้นไม่ได้อยู่แต่เพียงความตั้งอกตั้งใจฟังอย่างไตร่ตรอง แต่ยังต้องอาศัยบรรยากาศที่เอื้อต่อการฟังอีกด้วย 
สถานที่ที่เหมาะกับการบรรเลงและการฟังจึงควรเป็นห้องโถงตามบ้าน หรือห้องฟังดนตรีขนาดเล็กเพราะผู้ฟังทุกคนสามารถฟังเสียงของเครื่องดนตรีทุก ๆ ชิ้นได้อย่างชัดเจนและสัมผัสกับดนตรีได้อย่างใกล้ชิด

วงแชมเบอร์มิวสิคจะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามจำนวนของผู้บรรเลงต้องมีนักดนตรีตั้งแต่สองคนขึ้นไปถึงเก้าคนดังนี้
- ผู้บรรเลง 2 คน เรียก ดูโอ (Duo)
- ผู้บรรเลง 3 คน เรียก ทริโอ (Trio)
- ผู้บรรเลง 4 คน เรียก ควอเต็ต (Quartet)
- ผู้บรรเลง 5 คน เรียก ควินเต็ต (Quintet)
- ผู้บรรเลง 6 คน เรียก เซกซ์เต็ต (Sextet)
- ผู้บรรเลง 7 คน เรียก เซพเต็ต (Septet)
- ผู้บรรเลง 8 คน เรียก ออคเต็ต (Octet)
- ผู้บรรเลง 9 คน เรียก โนเน็ต (Nonet)

            ในการเรียกชื่อวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นยังมีประเพณีในการเรียกอีกอย่างคือเรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีก่อนแล้วตามด้วยจำนวนเครื่องดนตรีเช่น สตริงควอเต็ต หมายถึงวงแชมเบอร์มิวสิคที่ประกอบด้วย ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล เป็นต้น เครื่องดนตรีที่นำรวมกันเป็นวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นที่นิยมแพร่หลายนั้นได้แก่กลุ่มเครื่องสาย ตระกูลไวโอลิน เพราะทุ้มเสียงของเครื่องตระกูลนี้ไม่ว่าจะเป็นไวโอลิน, วิโอลา, และเชลโล ล้วนสามารถกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี เช่น วงสตริงควอเต็ต           
( ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล) ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้คือการผสมวงดนตรีประเภทนี้ควรเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลเดียวกันเพราะทุ้มเสียงที่มีสีสัน (Tone color) เดียวกันอีกทั้งยังไม่มีการแสดงความเด่นข่มทุ้มเสียงอื่น



การผสมวงที่ใช้เครื่องสายไวโอลิน 2 คัน รวมเรียกว่า " สตริงดูโอ" (String Duo) ในงานของ ลุยส์ ชโปร์ ( ค. ศ.1784-1859) คีตกวีและนักไวโอลินชาวเยอรมัน และของบาร์ท้อค


ในยุคบาโรคการได้มีการปรับปรุงการจัดวงแชมเบอร์มิวสิคได้รู้จักกันในชื่อว่า " ทริโอโซนาตา" (Trio sonata) โดยโซนาตาชนิดนี้มีผู้บรรเลง 4 คน คือ ผู้บรรเลงเดี่ยว 2 คน และผู้บรรเลงแนวล่างสุดหรือ คอนตินูโอ (Continuo) อีก 2 คน ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้บรรเลง 4 คนก็ตามแต่ให้ถือว่ามี 3 แนว คือ สองแนวแรกเป็นแนวของเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว และแนวที่สามนั้นเป็นของเครื่องดนตรีคอนตินูโอ เช่น บาโรคทริโอโซนาตา ประกอบด้วย ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 2, ฮาร์พซิคอร์ดและเชลโล



นอกจากนี้ยังมีการผสมวงแบบต่าง ๆ ด้วยเครื่องสายและเปียโน เช่น เปียโนทรีโอ ( เปียโน, ไวโอลินและเชลโล)


การผสมวงที่ใช้เครื่องลมบางชนิดรวมกัน เช่น โอโบ 2, คลาริเนท 2 , บาสซูน 2 และ แตรเฟรนช์ฮอร์น 2 รวมเรียกว่า " วินด์อ๊อคเต็ต" (Wind Octet)





             นอกจากนี้ยังมีคำว่า " อองซองค์เบิล" (Ensemble) เป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายว่า      " ด้วยกัน" เป็นลักษณะของการบรรเลงดนตรีจากผู้เล่นหลาย ๆ คนมีจำนวนผู้เล่นไม่เกิน 20 คน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการแสดงของทุกคนรวมถึงความสามารถของนักดนตรีแต่ละคน
ในกรณีที่กลุ่มนักดนตรีไม่ว่าชนิดที่มีเฉพาะผู้เล่นเครื่องสายล้วน ๆ และมีผู้เล่นเครื่องลมผสมอยู่บ้างแต่รวมแล้วไม่เกิน 30 คน โดยสัดส่วนของวงเช่นเดียวกับวงออร์เคสตรา กลุ่มนักดนตรีนี้ก็จะเรียกว่า " วงออร์เคสตราแชมเบอร์มิวสิค" (Chamber Orchestra)
ลักษณะการผสมวงแบบแชมเบอร์มิวสิคนี้หากนักดนตรีที่มารวมกันนั้นเป็นนักศึกษามาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กัน อาจเป็นการรวมวงระหว่างอาจารย์หรือนักศึกษาที่มีความสามารถทางดนตรีเป็นเยี่ยม เรามักจะเรียกการรวมวงประเภทนี้ว่า " โปรมิวสิคกา ออร์เคสตรา" (Promusica Orchestra)









โปรมิวสิคกา ออร์เคสตรา" (Promusica Orchestra)
______________________________________________________


3.  บทเพลงที่ใช้ในวงออร์เคสตรา
ซิมโฟนี (Symphony)
เป็นบทเพลงต้นแบบของเพลงประเภทต่างๆ ที่ใช้บรรเลงสำหรับวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ซึ่งนิยมในยุคคลาสสิก (1750-1820) ส่วนใหญ่ประพันธ์โดยไฮเดิน (106 บทโมซาร์ท (ประมาณ 50 บทในยุคโรแมนติกเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ สง่างามและแสดงออกถึงอารมณ์ จิตวิญญาณของดนตรีในยุคผู้ประพันธ์ที่สำคัญ เช่น ชูเบิร์ต ชูมานน์ เป็นต้น ซิมโฟนีโดยปกติ   ประกอบด้วย 3-4 ท่อน โดยรูปแบบจังหวะแต่ละท่อนเป็น "เร็ว-ช้า-เร็ว" หรือ "เร็ว-ช้า-เร็ว"     ปานกลาง-เร็ว





คอนแชร์โต (Concerto)
เป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยวเพื่อแสดงฝีมือของผู้บรรเลงร่วมบรรเลงกับวงออร์เคสตรา เกิดขึ้นในยุคบาโรกและมีแบบแผนที่เป็นมาตรฐานในยุคคลาสสิก ด้านรูปแบบมีลักษณะคล้ายกับซิมโฟนีแต่มีเพียง 3 ท่อน ประกอบด้วย เร็ว-ช้า-เร็ว คอนแชร์โตที่นิยม คือ เปียโนคอนแชร์โตและไวโอลินคอนแชร์โต





โอเปรา (Opera)
เป็นละครเพลงร้องที่ใช้วงออร์เคสตราในการบรรเลงดนตรีประกอบ และดำเนินเรื่องใช้การร้องเป็นหลัก โอเปราแบ่งได้ 2 ประเภท คือ โอเปรา ซีเรีย (Opera Seria) เป็นเรื่องราว  เกี่ยวกับชนชั้นสูง เนื้อหาเกี่ยวกับโศกนาฏกรรม ความรัก และโอเปรา ชวนหัว (Comic Opera, Opera buffa) เนื้อหาเป็นเรื่องสามัญชนทั่วไป แนวสนุกสนาน ตลกขบขัน ดำเนินเรื่องรวดเร็ว
บางโอกาสอาจมีโอเปราอีก 2 ประเภท คือ โอเปเรตตา (Operetta) เป็นโอเปราขนาดเล็ก มีแนวสนุกสนานทันสมัย ใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา และคอนทินิวอัสโอเปรา (Continuous Opera) เป็นโอเปราที่ใช้ดนตรีเชื่อมโยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ





ดนตรีบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem)
เป็นบทเพลงที่ใช้เสียงดนตรีสื่อความหมายต่างๆ หรือเล่าเรื่องราวตามความมุ่งหมายของผู้ประพันธ์ ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องราวหรือบรรยายภาพในลักษณะการเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น    น้ำไหล นกร้อง เป็นต้น บทเพลงประเภทนี้จะสื่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจน เกิดขึ้นในยุคโรแมนติกและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก



บัลเลต์ (Ballet)
เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงละครคล้าย  โอเปร่า แต่ไม่มีบทร้อง ผู้แสดงใช้การเต้นบรรยายแทนการสนทนา ผู้ประดิษฐ์ท่าทางมีความสำคัญมากเพราะต้องสื่อเนื้อหาที่เข้ากับดนตรีและเนื้อเรื่อง ดนตรีบัลเลต์จัดเป็นดนตรีที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าที่มีความไพเราะสามารถฟังได้โดยไม่ต้องมีการแสดงประกอบแต่ประการใด